ผู้สนับสนุนหลัก
จังหวัดภาคกลาง
- กรุงเทพมหานคร
- กำแพงเพชร
- ชัยนาท
- นครนายก
- นครปฐม
- นครสวรรค์
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- พระนครศรีอยุธยา
- พิจิตร
- พิษณุโลก
- ลพบุรี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสงคราม
- สมุทรสาคร
- สระบุรี
- สิงห์บุรี
- สุพรรณบุรี
- สุโขทัย
- อ่างทอง
- อุทัยธานี
- เพชรบูรณ์
เพื่อนบ้าน
สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี
คำขวัญ "ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี "
สิงห์บุรี เป็นเมืองอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ด้วยเรื่องราววีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน ในอดีตเป็นที่รู้จักกันในฐานะเป็นถิ่น “ปลาแม่ลา น้ำยาบางเลา สาวบ้านแป้ง แตงบ้านไร่” สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์บุรีว่า “เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่ามาก มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญคือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่กว่าพระองค์อื่นๆในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดีย เหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา เมืองสิงห์บุรี เรียกชื่อต่างๆดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์ อันเป็นลำน้ำใหญ่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองลับลี้” ด้วยเหตุนี้ เมืองสิงห์บุรี จึงโยกย้ายไปตามสภาพลำน้ำหลายสาย จากตัวเมืองเดิมที่ตั้งอยู่ทางฝั่งแม่น้ำจักรสีห์ บริเวณใกล้หน้าวัดพระธาตุ ต่อมาย้ายเมืองไปตั้งทางแควน้อย ที่ ต.โพสังโฆ อ.ค่ายบางระจัน ใต้วัดสิงห์ลงมา ครั้นเมื่อเสียกรุงแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 ก็ย้ายมาตั้งทาง ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งขณะนั้นเรียกปากน้ำโพ ต.บางมัญ และครั้งหลังสุดย้ายไปตั้งที่ ต.บางพุทรา อ.เมืองสิงห์บุรี ในปัจจุบัน และจากกลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี มีอยู่แล้วตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยา อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็น เสน่ห์ของเมืองสิงห์บุรี ก็คือ การตั้งชื่อถนนในเมืองที่เป็นชื่อของวีรชนบ้านบางระจันทั้งสิ้น เช่น ถนนนายแท่น ถนนนายดอก ถนนนายอิน ถนนนายเมือง ถนนขุนสรรค์ เป็นต้น จังหวัดสิงห์บุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง ลักษณะภูมิประเทศของสิงห์บุรีเป็นที่ราบลุ่ม คล้ายลูกคลื่นลอนตื้น มีลำน้ำสามสายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี จึงได้รับการขนานนามว่า “เมืองแห่งลุ่มน้ำสามสาย”
-
วัดสว่างอารมณ์
(เปิดดู 2,256 ครั้ง )