ผู้สนับสนุนหลัก
พระนครศรีอยุธยา
- คุ้มขุนแผน
- พระที่นั่งเพนียด
- พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมหรือวังหน้า
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
- วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
- วัดชัยวัฒนาราม
- วัดธรรมาราม
- วัดพนัญเชิงวรวิหาร
- วัดพระราม
- วัดพระศรีสรรเพชญ์
- วัดพุทไธสวรรค์
- วัดภูเขาทอง
- วัดมหาธาตุ
- วัดราชบูรณะ
- วัดหน้าพระเมรุ
- วัดโลกยสุธาราม
- วัดใหญ่ชัยมงคล
- วัดไชยวัฒนาราม
- ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
- หมู่บ้านญี่ปุ่น
- หมู่บ้านโปตุเกส
เพื่อนบ้าน
วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา
เปิดดู 2,587 ครั้ง
วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกวัดหนึ่ง ในกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางทางศาสนาในกรุงศรีอยุธยา เพราะนอกจากเป็นที่ประดิษฐานพระสารีริกธาตุแล้ว ยังเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีอีกด้วย
จากพงศาวดารบางฉบับกล่าวถึงวัดนี้ว่า ได้ริเริ่มสร้างองค์พระมหาธาตุขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรจึงทรงสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จสิ้นเป็นพระอาราม และโปรดให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อ พ.ศ.1927 แล้วขนานนามว่า”วัดมหาธาตุ”
แผนผังวัดมหาธาตุซึ่งสร้างไว้แต่เดิมและสร้างเพิ่มเติมต่อมานั้นน่าดูมาก คือตรงกลางวัดมีพระปรางค์ 5 องค์ ปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ตรงกลาง มีปรางค์ทิศอีก 4 องค์ มีบันไดขึ้นไปถึงซุ้มองค์พระมหาธาตุ หลังพนักบันไดทั้ง ๒ ข้างปั้นเป็นนาคราชเลื้อยลงมา ศีรษะแผ่พังพานมาพาดอยู่ที่เชิงบันได ตรงชั้นบัลลังก์ทั้ง ๔ มุม มีรูปปั้นประดับคือ รูปครุฑ รูปจตุโลกบาล รูปโทวาริกถือดาบ รูปรากษสถือกระบองสั้น รูปพิราวะยักษ์ถือกระบองยาว มีพระอุโบสถซึ่งผนังทำเป็นช่องลูกกรงและมีลวดลายประดับ ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ส่วนวิหารนั้นกว้างใหญ่และยาวมาก ตามหลักฐานที่เหลืออยู่ปรากฏว่ายาวถึง 60 เมตร กว้าง 20 เมตร ภายในวิหารนั้นเขียนภาพเป็นเรื่องมหาเวสสันดรชาดก และเรื่องปฐมสมโพธิ นอกจากนี้ยังมีวิหารเล็กๆ และเจดีย์รายรอบอีกเป็นจำนวนมาก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153-2171)พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่โดยเสริมพระมหาธาตุให้สูงยิ่งขึ้น รวมเป็นความสูง 25 วา ดังปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา จากนั้นหลังจากรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแล้ว ก็ไม่ปรากฏเรื่องราวของวัดมหาธาตุอีกเลย
หลังจากคราวเสียกรุง วัดมหาธาตุได้รับความเสียหาย และชำรุดทรุดโทรมลงมากมาย แต่พระปรางองค์ใหญ่ยังคงสมบูรณ์ดี ปรากฏรูปถ่ายเมื่อครั้งพระบาทสมเด็นพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จในงานพระราชพิธีรัชมงคลที่ พระราชวังโบราณ เมื่อ พ.ศ. 2450 ที่พิมพ์ใน หนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 63 ของหอสมุดแห่งชาติ แต่ปรางค์องค์นี้คงจะพังลงมาในต้นรัชกาลที่ 6 นี้เอง
กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งบูรณะวัดมหาธาตุ ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยให้ความสำคัญที่ตรงกลางพื้นห้องคูหาเรือนธาตุของปรางค์ประธาน ทำให้ได้พบปล่องภายใน มีสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ด้วย การค้นพบนี้ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับการบูชาพระบรมสารีริกธาตุในสมัย อยุธยาเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ พระบรมสารีริกธาตุนั้นบรรจุอยู่ในผอบ 7 ชั้น จากชั้นในสุดออกมาชั้นนอก ดังนี้ พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นผลึกขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของเมล็ดข้าวสารนั้น บรรจุในตลับทอง ชั้นที่ 2 คือ สถูปแก้วผลึก ซึ่งประดับด้วยทองอัญมณี ได้แก่ โกเมน มรกต และทับทิม ชั้นที่ 3 เป็นสถูปไม้แดง ชั้นที่ 4 เป็นสถูปไม้ดำ ชั้นที่ 5 สถูปนาก ชั้นที่ 6 สถูปเงิน ชั้นที่ 7 สถูปชิน สถูปทั้ง 7 ชั้นบรรจุในเสาหิน สูง 3.20 เมตร ภายในกลวงมีฝาปิด เสาหินนี้อยู่ภายในช่องเป็นปล่องยาวจากตรงกลางห้องคูหาเรือนธาตุจนจรดระดับพื้นดิน
ปัจจุบันสถูปทั้งหมดพร้อมพระบรมสารีริกธาตุนั้นได้เก็บรักษาและจัดแสดงให้ชม และสักการบูชาที่ห้องมหาธาตุ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
ข้อมูลจาก : siamfreestyle.com
ดูแผนที่ตั้งของ "วัดมหาธาตุ"
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในประเภทวัด, โบสถ์, สุเหร่า ดูทั้งหมด
- พระธาตุนาดูน (เปิดดู 2,287 ครั้ง )
- วัดกระดังงาบุปผาราม (เปิดดู 2,383 ครั้ง )
- วัดพระยืน (เปิดดู 2,284 ครั้ง )
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดูทั้งหมด
- วัดหน้าพระเมรุ (เปิดดู 2,730 ครั้ง )
- วัดภูเขาทอง (เปิดดู 2,556 ครั้ง )
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา (เปิดดู 3,108 ครั้ง )