ผู้สนับสนุนหลัก
แพร่
- วัดพระธาตุช่อแฮ
- ถ้ำผานางคอย
- ถ้ำเอราวัณ
- น้ำตกตาดหมอก
- น้ำตกห้วยโรง
- น้ำตกแม่แคม
- พระธาตุปูแจ
- พระธาตุพระลอ
- พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
- ภูเขาหินปะการัง
- วนอุทยานแพะเมืองผี
- วัดจอมสวรรค์
- วัดพระธาตุจอมแจ้ง
- วัดสระบ่อแก้ว
- อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง
- อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
- อุทยานแห่งชาติแม่ยม
- แก่งหลวง
เพื่อนบ้าน
อุทยานแห่งชาติแม่ยม แพร่
เปิดดู 2,405 ครั้ง
อุทยานแห่งชาติแม่ยม
อุทยานแห่งชาติแม่ยม พื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภองาว จังหวัดลำปางและอำเภอสอง จังหวัด-แพร่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สองของจังหวัดแพร่ (แห่งแรกคืออุทยานแห่งชาติ เวียงโกศัย)มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าสักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่นซึ่งมีขนาดสูงใหญ่งดงามมาก นับได้ว่าเป็นตัวแทนป่าไม้สักของภาคเหนือได้อย่างดียิ่งรวมทั้งไม้ที่มีค่าต่าง ๆ จำนวนมาก และทิวทัศน์ที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 454. 75 ตารางกิโลเมตร หรือ 284,218.75 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็น "อุทยานแห่งชาติแม่ยม"เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศอุทยานแห่งชาติแม่ยมโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ลาดลงมายังฝั่งแม่ยมซึ่งไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ เทือกเขาเหล่านี้ เช่น ดอยหลวงดอยยาว ดอยขุนห้วยแปะ และดอยโตน เป็นต้นซึ่งเทือกเขาสูงดังกล่าวนี้เป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของแม่น้ำและลำห้วยต่างๆที่ไหลลงสู่แม่น้ำยม อาทิ น้ำแม่ปุง น้ำแม่ลำ น้ำแม่เต้น น้ำแม่สะกึ๋น น้ำแม่เป๋าห้วยผาลาด ห้วยแม่ปง ห้วยแม่พุง ห้วยแม่แปง ห้วยเค็ด ห้วยปุย ห้วยเลิมและห้วยแม่ปุ๊ เป็นต้นบริเวณที่ราบซึ่งมีความลาดเอียงจากแนวทิศเหนือไปทิศใต้โดยประมาณมีระดับความสูงประมาณ 180 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่บริเวณอำเภอสองแล้วลดความสูงมาเป็นประมาณ 157 เมตร ส่วนทางด้านแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้นพื้นที่ลาดเอียงสู่แม่น้ำยมทั้งสองด้าน ส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่วนปนทรายชนิดหินเป็นหินชั้นและหินเชล และพื้นที่จะอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2, 3, 4 และ 5
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่ยมอยู่ในลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูปริมาณและการกระจายของฝนจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ประเภท คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเริ่มพัดผ่านระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมทำให้ฝนตกชุก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มพัดผ่านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนโดยนำอากาศหนาวและแห้งแล้งจากประเทศจีนมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยช่วงฤดูแล้งนี้ยังมีลักษณะอากาศแตกต่างกันอันเนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขากล่าวคืออากาศหนาวแห้งแล้งจะเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์และอากาศร้อนแห้งแล้งจะเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนเมษายน 33 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคม 14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,095 มิลลิเมตรต่อปี
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยชนิดป่าชนิดต่างๆ ได้แก่ป่าเบญจพรรณ พบทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเฉพาะตั้งแต่บริเวณเหนือเขื่อนขึ้นไปทางทิศตะวันตกของลำน้ำยม ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะแบก ฯลฯ
ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ และกระจายเป็นหย่อมๆในบริเวณดินที่มีความแห้งแล้ง เป็นดินลูกรัง ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง พลวงรัก มะเกิ้ม ชิงชัน ฯลฯ
ป่าดิบแล้งขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติและตามบริเวณริมห้วยที่สำคัญมีความเขียวชอุ่มตลอดปี พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง กระบาก มะหาด ยาง ยมหอมก่อ ฯลฯ
ป่าสนเขา มีขึ้นอยู่ตามยอดเขาทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้จะเป็นพวกไม้สน และไม้ก่อ เช่น สนสามใบ ก่อเดือยก่อตาหนู เป็นต้น
จากการสำรวจสัตว์ป่า พบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 39 ชนิด นก 135 ชนิดสัตว์เลื้อยคลาน 28 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 14 ชนิดในจำนวนนี้มีสัตว์ที่มีสถานภาพที่น่าเป็นห่วง 4 ชนิด ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกกระรอกบินเล็กแก้มขาว แมวป่า และนกยูง มีสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือเสือปลา นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าสงวนซึ่งมีสภาพใกล้สูญพันธุ์ตามสมุดปกแดงของ IUCN คือ เลียงผา สัตว์ป่าชนิดอื่นที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ เก้ง หมีควาย หมูป่ากระต่ายป่า นางอาย เม่นหางพวง นากเล็กเล็บสั้น อ้นเล็ก กระเล็นขนปลายหูสั้นค้างคาวขอบหูขาวกลาง ค้างคาวมงกุฎมลายู หนูท้องขาว ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดานกหกเล็กปากแดง นกกระปูดใหญ่ นกเค้าโมง นกตบยุงหางยาว นกตะขาบทุ่ง นกตั้งล้อนกโพระดกคอสีฟ้า นกหัวขวานด่างแคระ นกแอ่นตะโพกขาวหางแฉก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่นกกินแมลงอกเหลือง นกพงคิ้วดำ นกเด้าลมหลังเทา นกปรอดโอ่งเมืองเหนือนกจับแมลงหัวเทา นกกินปลีอกเหลือง เต่าเหลือง ตะพาบน้ำ กิ้งก่าสวน แย้ขีดจิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง จิ้งจกหางหนาม งูหลาม งูสามเหลี่ยม อึ่งขาดำ กบหนองเขียดบัว และคางคกบ้าน เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
แก่งเสือเต้น
เป็นเกาะแก่งธรรมชาติในแม่น้ำยม มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตรชื่อของแก่งเสือเต้นมีความเป็นมาจากลักษณะของหินธรรมชาติก้อนหนึ่งในแก่งแห่งนี้ลักษณะรอยเท้าเสือปรากฏอยู่ตามริมแม่น้ำยมในช่วงที่เป็นแก่งเสือเต้นนั้นจะมีหาดทรายปรากฏอยู่โดยทั่วไปเหมาะในการกางเต็นท์เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติที่งดงามโดยมีเสียงน้ำไหลผ่านเกาะแก่งเป็นส่วนประกอบและแก่งเสือเต้นนี้จะอยู่หน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยมพอดี
กิจกรรม :- ล่องแพ/ล่องเรือ
จุดชมทะเลหมอก
เป็นบริเวณที่สามารถมองเห็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนมองเห็นความงามของดงสักงามทางทิศตะวันออกในช่วงฤดูหนาวจะได้สัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็นและเห็นทะเลหมอกในยามเช้าจุดชมทะเลภูเขานี้ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยม ประมาณ 13 กิโลเมตร
กิจกรรม :- ชมทิวทัศน
ดงสักงาม
มีลักษณะเป็นกลุ่มของไม้สักที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามริมฝั่งแม่น้ำยมในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้าไม้สักที่ขึ้นอยู่นี้มีขนาดใหญ่งดงามมาก คล้ายกับไม้สักที่ปลูกในสวนป่าและหากได้เข้าไปในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนจะพบกับความร่มรื่นและดอกสักที่เหลืองอร่ามไปหมดบริเวณดงสักงามนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยมประมาณ 6 กิโลเมตรการเดินทางไปยังจุดนี้ต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น
กิจกรรม :- เดินป่าระยะไกล
ต้นมะค่าใหญ่
ขึ้นในบริเวณขุนห้วยแม่ปุง ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่มีขนาดความโตวัดโดยรอบได้ 7.40 เมตร ความสูง 35 เมตร ต้องใช้คนประมาณ 6 คนจึงจะโอบได้รอบลำต้น ลักษณะกิ่งก้านสาขาแตกออกเป็น 2 นาง และแต่ละนางแตกออกเป็น 4 แขนง การแตกของนางแรกอยู่สูงจากพื้นดิน 3.22 เมตรพบอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มย.4 (บ่อต้นสัก) ประมาณ 8 กิโลเมตร
กิจกรรม :- ชมพรรณไม้
ผาลาด
บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มย.5 (ผาลาด) ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณโดยบริเวณห้วยผาลาดจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูง จำนวนมากจาการสำรวจนกยูงบริเวณดังกล่าวเป็นนกยูงสายพันธุ์ไทยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 52 กิโลเมตร
กิจกรรม :- ส่องสัตว์
โล้ชิงช้าเผ่าอาข่า
ประเพณีโล้ชิงช้าของเผ่าอาข่าในช่วงหน้าหนาวเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยมชมวิถีชีวิตดั่งเดิมและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าอาข่าอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยมประมาณ 40 กิโลเมตร
กิจกรรม :- ชมวัฒนธรรมประเพณี
หล่มด้ง
เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 เมตรปรากฏอยู่บนยอดเขาสูงมีน้ำตลอดปีสันนิษฐานว่าแหล่งน้ำนี้เกิดจากการยุบตัวของดินในบริเวณดังกล่าวทำให้เกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่และมีน้ำขังอยู่กลายเป็นแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่าในบริเวณนั้นหล่มด้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยมประมาณ 10 กิโลเมตรใกล้กับหล่มด้งนี้จะมีเหมืองแร่เก่าซึ่งผ่านการทำแร่แบไรต์มาแล้วมีลานสำหรับกางเต็นท์และมีจุดชมทิวทัศน์ป่าสักที่งดงามและชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้อีกด้วย
กิจกรรม :- แคมป์ปิ้ง -ชมทิวทัศน
สถานที่ติดต่อและการเดินทาง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่ยม
ตู้ ปณ. 4,อ. สอง จ. แพร่ 54120
การเดินทาง
รถยนต์
การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต้องเริ่มจากจังหวัดแพร่ ไปตามถนนสายแพร่-น่าน ไปถึงสี่แยกอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางร้องกวาง-งาว ประมาณ 26 กิโลเมตร จะถึงอำเภอสอง และจากอำเภอสองเดินทางไปตามเส้นทางสายสอง-งาว (สายเก่า) ประมาณ 20 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยม รวมระยะทางจากจังหวัดแพร่ถึงอุทยานแห่งชาติแม่ยม ประมาณ 70 กิโลเมตร
ข้อมูลจาก: thai.tourismthailand.org
ดูแผนที่ตั้งของ "อุทยานแห่งชาติแม่ยม"
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในประเภทอุทยานแห่งชาติ ดูทั้งหมด
- สิริจิตอุทยาน (เปิดดู 2,482 ครั้ง )
- สุสานหอย (เปิดดู 2,655 ครั้ง )
- อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ (เปิดดู 2,802 ครั้ง )
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดแพร่ ดูทั้งหมด
- วัดพระธาตุช่อแฮ (เปิดดู 2,129 ครั้ง )
- ถ้ำผานางคอย (เปิดดู 2,493 ครั้ง )
- น้ำตกแม่แคม (เปิดดู 2,143 ครั้ง )