ผู้สนับสนุนหลัก
สุโขทัย
- ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ
- พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
- วัดชนะสงคราม
- วัดช้างล้อม
- วัดตระพังทอง
- วัดตระพังเงิน
- วัดมหาธาตุ
- วัดศรีชุม
- วัดศรีสวาย
- วัดสระศรี
- วัดเจดีย์เจ็ดแถว
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
- อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
- อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
- อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
- เขื่อนสรีดภงส์
- เนินปราสาทพระร่วง
- แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย
เพื่อนบ้าน
แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย สุโขทัย
เปิดดู 3,041 ครั้ง
แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า แม่โจน เตาทุเรียง เป็นชื่อเรียกเตาเผาถ้วยชามสังคโลกสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 เตาทุเรียงบริเวณเมืองเก่าสุโขทัยเป็นเนินดินอยู่ระหว่างวัดศรีชุมและ วัดพระพายหลวง ชาวบ้านเรียกกันว่า เนินร่อนทอง บริเวณนี้นักโบราณคดีได้พบเตาเผาสังคโลกไม่น้อยกว่า 49 เตา เต็มไปด้วยร่องรอยมูลดินกับเศษถ้วยชามสังคโลก เตาแบบนี้เป็นเตาเผาแบบอิฐ กว้าง1.50-2.00 เมตร ยาว 4-5 เมตร ทำเป็นรูปคล้ายประทุนเกวียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ที่ใส่ไฟ ที่วางถ้วยชาม และปล่องไฟ เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชาม มีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร
สังคโลกหมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในสมัยสุโขทัย ทั้งในเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย เป็นการทำเครื่องถ้วยชามและประติมากรรมหรือส่วนของสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งเคลือบและไม่เคลือบ ที่เคลือบสีต่าง ๆ ได้แก่ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใสเคลือบทับลายเขียนเป็นรูปต่าง ๆ สังคโลกที่เป็นเครื่องถ้วยชาม ยังเป็นสินค้าออกสำคัญของราชอาณาจักรสุโขทัย ส่งไปขายยังราชอาณาจักรล้านนา ราชอาณาจักรศรีอยุธยา และเมืองหรือรัฐของภาคใต้ และที่ส่งไปขายไกลๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และ ตะวันออกกลาง
แหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลกที่เมืองสุโขทัย (เตาทุเรียง) มีลักษณะของเตามีอยู่ 2 แบบ แบบแรกเป็นเตากลม มีพื้นเจาะรูเพื่อระบายความร้อนจากช่องใส่ไฟที่อยู่ด้านล่างขึ้นมา บางครั้งก็เรียกว่า เตาตะกรับ แบบที่ 2 มีลักษณะเป็นรูปหลังเต่า มีปล่องระบายความร้อนและช่องไฟอยู่คนละแนวกันเพื่อระบายความร้อนในแนวนอน เรียกเตาประทุน เตาเผาที่สุโขทัยส่วนใหญ่เป็นเตาที่ก่อขึ้นจากอิฐดิบ ไม่ใช่เตาขุดที่ขุดเข้าไปในเนินดินธรรมชาติแบบเตาบางแห่งที่ศรีสัชนาลัย เพราะในการขุดค้นของกรมศิลปากรพบเตาอิฐดิบนี้ก่ออยู่บนชั้นดินดาน ซึ่งเป็นชั้นดินล่างสุดของสุโขทัย
ข้อมูลจาก : siamfreestyle.com
ดูแผนที่ตั้งของ "แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย"
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในประเภทโบราณสถาน ดูทั้งหมด
-
ตำนานเรือเทพนรสิงห์ วัดเสาไห้
(เปิดดู 4,789 ครั้ง )
-
พระบรมรูปทรงม้า
(เปิดดู 2,431 ครั้ง )
-
ปราสาทจอมพระ
(เปิดดู 2,375 ครั้ง )
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดสุโขทัย ดูทั้งหมด
-
แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย
(เปิดดู 3,042 ครั้ง )
-
วัดมหาธาตุ
(เปิดดู 2,953 ครั้ง )
-
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(เปิดดู 2,525 ครั้ง )